วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ผู้คิดค้นไฟฟ้ากระแสสลับ

นิโคลา เทสลา (ภาษาเซอร์เบีย อักษรไซริลลิก: Никола Тесла - Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็นนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้าที่เปี่ยมด้วยอัจฉริยภาพ มักได้รับการยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี
นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง

ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าคนแรก

ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)เกิด 22 กันยายน ค.ศ.1791 กรุงลอนดอน อังกฤษเสียชีวิต 25 สิงหาคม ค.ศ.1867 ลอนดอน อังกฤษ ฟาราเดย์ เป็นชาวอังกฤษเกิดมาในครอบครัวฐานะยากจน บิดามีอาชีพเป็นช่างตีเหล็ก และรับจ้างใส่เกือกม้าทำให้เขาได้รับการศึกษาน้อย แค่ชั้นประถมศึกษาเท่านั้น ก็ต้องลาออกเพื่อมาทำงานตั้งแต่อายุ 13 ปี อาชีพแรกคือ เด็กส่งหนังสือพิมพ์ในร้านขายหนังสือแห่งหนึ่ง เพราะความขยันและมีนิสัยรักการอ่านจนทำให้เขาได้มาทำงานกับนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังอย่าง เซอร์ฮัมฟรี เดวี่ (Sir Humphy Davy) ด้านเคมี เป็นผู้ช่วยห้องปฏิบัติการเคมี และได้ติดสอยห้อยตามไปทั่วทุกที่ จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาฯ ทำให้เขาได้รับประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ มากมาย จนสามารถสร้างชื่อเสียงแก่ตนเองในฐานะใหม่คือ นักวิทยาศาสตร์และเป็นถึง ผู้อำนวยการห้องทดลองแห่งราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) แต่ในใจลึกๆนั้นเขาสนใจด้านไฟฟ้ามากกว่า เขาได้พบนักฟิสิกส์มากมายและทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า จนทำให้เขามาศึกษาทดลองเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า จนได้กระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า “กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ” จนถึงการประดิษฐ์เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า “ไดนาโม” เป็นเครื่องที่เปลี่ยนพลังงานกล เช่นพลังงานไอน้ำ พลังงานลม พลังงานความร้อน โดยอาศัยการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า เขาเผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ไปในงานเขียนหนังสือชื่อ EXPERIMENTAL RESEARCHS ในปี 1922 ในปี 1825 เขาสามารถประดิษฐ์หม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อประโยชน์ในการแปลงศักย์ไฟฟ้าให้ได้สูงต่ำตามที่ต้องการ และได้รับให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการห้องทดลองราชบัณฑิตยสภา และเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีอีกด้วย นำมาซึ่งชื่อเสียง เงินทอง ต่อมาเขาทำการทดลองค้นพบโลหะชนิดหนึ่งเรียกว่า “สแตนเลส” ซึ่งนำเหล็กมาผสมกับ นิกเกิล มีคุณสมบัติที่เหนียว และไม่เป็นสนิม และบัญญัติศัพท์ทางไฟฟ้าอีกหลายคำผลงานการค้นพบ
ค้นพบสมบัติของแม่เหล็กที่ทำให้เกิดไฟฟ้า
ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือ ไดนาโม (Dynamo)
นำเหล็กมาผสมกับนิกเกิล เรียกว่า สแตนเลส ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหนียว และไม่เป็นสนิม
พบสารประกอบเบนซีน (Benzene)
บัญญัติศัพท์ทางวิทยาศาสตร์หลายคำเช่น ไออน(Ion) = ประจุ, อีเล็กโทรด (Electrode) = ขั้วไฟฟ้า ,คาโทด (Cathode) = ขั้วลบ, แอโนด (Anode) = ขั้วบวก

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟคนแรก


โธมัส อัลวา เอดิสัน


โธมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison )เป็นชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2390 ที่เมืองมิลาน รัฐโอไฮโอ เป็นนักประดิษฐ์ที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า พ่อชื่อ แซมมวล เอดิสัน บรรพบุรุษเป็นชาวฮอลแลนด์ โดยมีประกอบธุรกิจในแคนาดา และร่วมขบวนการต่อต้านรัฐบาล เมื่อฝ่ายต่อต้านพ่ายแพ้ จึงต้องอพยพมาอยู่ที่อเมริกา โดยทำธุรกิจไม้แปรรูปทุกชนิด แม่ชื่อแนนซี่ เอลเลียด มีเชื้อชาติอิตาเลียน ซึ่งเคยเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนในกรุงเวียนนามาก่อน เมื่อเอดิสันอายุได้ 7 ขวบ ครอบครัวได้ย้าย ไปอยู่ที่รัฐมิชิแกนเพราะกิจการของครอบครัวประสบปัญหา จึงทำให้เขาได้รับการศึกษาเพียงแค่ 3 เดือน เท่านั้น เมื่อออกจากโรงเรียน แม่ก็ทำหน้าที่สอนหนังสือให้กับเขาได้ 2 ปี

เขาก็สามารถอ่านเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถอ่านหนังสือ ที่เป็นเรื่องเป็นราวได้ โดยเอดิสันสนใจที่จะอ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เป็นพิเศษ


ด้วยความเป็นคนที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เขาก็เริ่มทดลองตำราที่ได้อ่านดูซึ่งปกติแล้ว เขามีนิสัยช่างซักถามจนกลายเป็นว่าเขาชอบค้นหา ความจริงจากสิ่งต่างๆ โดยการทดลองด้วยตัวเอง ตั้งแต่อายุเพียง 10 ขวบ ในการทดลองกกไข่ห่านว่า เขาสามารถกกไข่ห่านได้หรือไม่ พออายุได้ 12 ขวบ ขายหนังสือพิมพ์และผลไม้ สายรถไฟเดทรอย - ปอร์ตฮิวรอน (Port Huron – Detroit)

เพื่อนำเงิน ไปซื้อเครื่องใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยในไม่ช้าการค้นคว้าของเขาก็เจริญก้าวหน้าออกไป จนเขามาร้านขายของเบ็ดเตล็ดเป็นของตัวเอง จนขยายออกไปเป็น 2 ร้าน ซึ่งระยะนั้นเขาเริ่มโตเป็นหนุ่มด้วยวัย 15 ปี เอดิสันได้ซื้อเครื่องพิมพ์ เพื่อออกพิมพ์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ฉบับหนึ่งชื่อว่า “วีคลี เฮราลด์” (Grand Trank Herald) ซึ่งทำรายได้ ให้เขาเดือนละ 45 ดอลลาร์ โดยภายใน 4 ปี เขาสามารถเก็บเงินได้ 2,000 ดอลลาร์


สำนักพิมพ์ของเขาเป็นตู้รถไฟเก่าๆ ซึ่งจอดทิ้งไว้ นอกจากจะเป็นสำนักพิมพ์แล้วยังมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ รวมอยู่ด้วย แต่ความฝันของเขาต้องพังพินาศลง เมื่อวันหนึ่งขณะที่เขากำลังทดลองเคมีภายในตู้รถไฟ ก็เกิดการระเบิดขึ้น ทำให้ไฟลุกไหม้ตู้รถไฟ เขาจึงถูกพนักงานดูแลรถไฟขับไล่ โดยจับกระชากเขาและอุปกรณ์ของเขาออกจากตู้จนหมด ซึ่งบางแห่งก็กล่าวถึงสาเหตุที่เขาต้องหูหนวก เพราะถูกตบแก้วหูจนบอด และบางแห่งก็บอกว่าเครื่องเคมีระเบิด จึงทำให้เกิดเสียงดังจนแก้วหูของเขาแตก แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาเขาต้องหูหนวก ตลอดไป